Call Center 02 619 2333ไทย | ENGLISH
ข้อมูลสำหรับ
นักลงทุน
ข้อมูลสำหรับนักลงทุน
เมนู
คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (ACC)

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
Anti-Corruption Committee (ACC)

คณะกรรมการ ก.ต.ท. (Anti-Corruption Committee) เพื่อให้การดำเนินกิจการของบริษัทฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใสและ มีแนวทางปฏิบัติงานที่ดี เป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยครอบคลุมแนวทางปฏิบัติงานและมาตรการป้องกันการ ทุจริตคอร์รัปชันที่เหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการบริหารและผู้บริหารระดับผู้จัดการส่วนขึ้นไป รวมทั้ง ผู้จัดการส่วนสำนักกฎหมาย และผู้จัดการส่วนสำนักงานตรวจสอบภายในฯ รวมจำนวนอย่างน้อย 10 คน โดยแต่งตั้งประธาน เจ้าหน้าที่บริหารเป็นประธานกรรมการ ก.ต.ท. โดยตำแหน่งและแต่งตั้งกรรมการ ก.ต.ท. หรือผู้บริหารที่เห็นว่าเหมาะสมเป็น เลขานุการคณะกรรมการ ก.ต.ท. เพื่อให้มีหน้าที่ในการจัดเตรียมการประชุม ตลอดจนเป็นผู้ประสานงานให้มีการรายงานต่อ คณะกรรมการบริษัทฯ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

1) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็น ประธาน
2) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็น กรรมการ
3) ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบัญชีและการเงิน เป็น กรรมการ
4) ผู้จัดการฝ่ายผลิตกระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็น กรรมการ
5) ผู้จัดการฝ่ายผลิตกระเบื้องคอนกรีต เป็น กรรมการ
6) ผู้จัดการฝ่ายผลิตอิฐมวลเบา เป็น กรรมการ
7) ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศและระบบมาตรฐาน เป็น กรรมการ
8) ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยี เป็น กรรมการ
9) ผู้จัดการฝ่ายบริหารโครงการ เป็น กรรมการ
10) ผู้จัดการฝ่ายโลจิสติกส์ เป็น กรรมการ
11) ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมและซ่อมบารุง เป็น กรรมการ
12) ผู้จัดการฝ่ายการตลาด เป็น กรรมการ
13) ผู้จัดการฝ่ายขาย 1 เป็น กรรมการ
14) ผู้จัดการฝ่ายขาย 2 เป็น กรรมการ
15) ผู้จัดการฝ่ายขาย 3 เป็น กรรมการ
16) ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็น กรรมการ
17) ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน เป็น กรรมการ
18) ผู้จัดการส่วนจัดซื้อ เป็น กรรมการ
19) ผู้จัดการส่วนสำนักกฎหมาย เป็น กรรมการ
20) ผู้จัดการส่วนสำนักงานตรวจสอบภายในฯ เป็น กรรมการ
21) ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน เป็น กรรมการและเลขานุการ

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ก.ต.ท. สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

  1. กำหนดนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของบริษัทฯ
  2. จัดทำคู่มือ แนวทางการปฏิบัติงานที่ดี ระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และอำนาจ อนุมัติทางการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบทลงโทษหากผู้บริหารและหรือพนักงานฝ่าฝืนไม่ ปฏิบัติตามคู่มือและหรือระเบียบคำสั่งดังกล่าวข้างต้น
  3. จัดให้มีการประเมินและทบทวนความเสี่ยงด้านการทุจริตของแต่ละหน่วยงานเป็นประจำทุกปี หรือเป็นระยะๆ ตามที่เห็น สมควรและเหมาะสม โดยจัดทำมาตรการป้องกันความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชันที่รัดกุมและเหมาะสมกับการประกอบ ธุรกิจของบริษัทฯ
  4. จัดทำแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อให้ได้รับประกาศนียบัตรการรับรองการเป็น สมาชิกโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption : CAC) และจัดให้มีการทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด
  5. จัดการอบรมพัฒนาผู้บริหารและพนักงานทุกคนทุกระดับ ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  6. ทบทวนแผนงาน นโยบาย การประเมินความเสี่ยง และมาตรการต่างๆ ด้านการทุจริตคอร์รัปชันตามที่เห็นสมควรและ เหมาะสมเป็นระยะๆ เพื่อให้มีมาตรการกำกับควบคุมดูแลและติดตาม เพื่อให้สะท้อนการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส และมีแนวทาง ปฏิบัติงานที่ดี พร้อมจะให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
  7. จัดให้มีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และติดตามให้การดำเนินงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชันตามที่บริษัทฯ กำหนด
  8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ หรือคณะกรรมการ ก.ต.ส. หรือคณะกรรมการ ก.จ.ก. ได้มอบหมายให้ดำเนิน การเป็นแต่ละเรื่องแต่ละกรณีๆ ไป